top of page

LEGEND- CAMBODIA2012

Legend-ภาษาไทย-ตำนาน 

 • พระศิวะหรือพระอิศวร : เทพผู้ทำลายและสร้างโลก

• ในครั้งแรกสุด พระพรหมได้เป็นผู้สร้างโลกและสร้างจักรวาลขึ้นมา แต่ก็ได้เกิดปัญหามากมายขึ้นบนโลกมนุษย์ พระศิวะจึงได้ทำลายโลก พอในเวลาต่อมาพระศิวะ ก็ได้มีการสร้างโลกขึ้นมาใหม่ โดยสร้างพระนารายณ์ขึ้นมาเป็นผู้ดูแลรักษาด้วย• ลักษณะของพระศิวะ มี 1 เศียร 4 กร 3 พระเนตร ซึ่งพระเนตรส่วนที่ 3 นั้นจะอยู่กึ่งกลางหน้าผาก จะทรงนุ่งหนังกวาง แล้วยังมีสร้อยสังวาลเป็นงู ส่วนพระหัตถ์ทรงตรีสูร ทรงโคนนทิเป็นพาหนะ ให้สังเกตดูหากได้พบรูปปั้นโคนนทิ อยู่บริเวณทางเดินที่จะต้องเข้ามายังปราสาท หรือมีรูปโคนนทิอยู่ในปราสาท นั่นหมายถึงว่าได้มีการสร้างปราสาทแห่งนั้นเพื่ออุทิศแด่พระศิวะ• นอกจากนี้ พระศิวะยังสามารถกำหนดโชคชะตาของมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลกโดยวิธีการร่ายรำที่มีชื่อเรียกว่า “ศิวนาฏราช” โดยเฉพาะที่สำคัญคือ ถ้าหากมีการร่ายรำด้วยความอ่อนช้อย ก็จะช่วยให้บรรดาเหล่ามนุษย์โลกอยู่เย็นเป็นสุข

ตำนานองค์เจก องค์จอม (ongjec ongchom)

 

      องค์เจ็กกับองค์จอม เป็นพี่น้องกัน และมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมาก วันหนึ่งหลังจากไปทำบุญกลับบ้านไปก็นอนหลับไม่ตื่นขึ้นมาอีก บิดามารดามีความเสียใจและอาลัยกับลูกสาวทั้งสองคนอย่างมาก จึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นมาสององค์ องค์ใหญ่นามว่าองค์เจ็ก องค์เล็กเป็นน้องนามว่าองค์จอม เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของเมืองเสียมราฐ ประชาชนที่นี่ให้ความเคารพนับถืออย่างมาก

 

  

ตำนานนางอัปสร 

    คงไม่มีใครที่เข้าไปเดินในนครวัดแล้วไม่เห็น“นางอัปสรา”เพราะในนครวัดมีรูปสลักนางอัปสราประดับอยู่ทุกซอกทุกมุม ซึ่งในปี พ.ศ. 2544 มีนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสและชาวเขมรร่วมกันใช้ความพยายาม(อย่างสูง)นับนางอัปสรา(อย่างเป็นทางการ)ในนครวัดได้ถึงประมาณ 1,800 องค์!!!             

      นับจนเหนื่อย...มันเยอะมาก... แต่ว่านางอัปสราที่นครวัดดูจิ๊บจ๊อยไปทันทีหากเทียบกับการเกิดของนางอัปสราที่มาพร้อมกับการกวนเกษียรสมุทรของเหล่าเทวดาและอสูรเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำอมฤต ที่ทั้งสองต่างต้องก็อยากได้มาดื่มเพิ่มอิทธิฤทธิ์ให้กับตัวเองตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู              

      การกวนเกษียรสมุทรในครั้งนั้นนอกจากจะทำให้เกิดกรณี“แค้นฝังลึก”ระหว่างอสูรกับเทวดาแล้ว ฟองน้ำที่ผุดขึ้นมาจำนวนมากมายมหาศาลได้ก่อเกิดเป็นนางอัปสรานับแสนๆนาง (บางตำนานว่ามีมากถึง 35 ล้านฟอง) ซึ่งเรื่องราวตำนานการกวนเกษียรสมุทร การยุดนาคของเหล่าเทวดาและอสูร รวมถึงการเกิดนางอัปสรา ที่นครวัดมีภาพจำหลักหินให้ชมอย่างละเอียดบนระเบียงทางเดินด้านหนึ่ง อัปสราผู้ต้องชะตากรรม  สำหรับการเกิดของนางอัปสราหรือที่บ้านเรามักเรียกว่า“นางอัปสร”

       ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทรงแปลความแบบตรงตามศัพท์ไว้ว่าหมายถึง“นางผู้กระดิกอยู่ในน้ำ”นั้น ส.พลายน้อย ได้เล่าไว้ในหนังสือเรื่อง“อมนุษยนิยาย”ว่า เหล่านางอัปสราที่เกิดมาล้วนแต่เป็นนางฟ้าหรือเทพธิดาผู้เลอโฉมที่แต่งองค์ทรงเครื่องอย่างงดงาม              

      แต่อนิจจา...นางอัปสราที่เกิดขึ้นมาตามตำนานที่ ส.พลายน้อยเล่า ถือว่าเป็นนางฟ้าที่โชคร้ายเป็นอย่างยิ่ง เพราะพวกนางถูกกล่าวหาว่าเป็นหญิงที่ไม่เคยรักใครจริงจัง ชอบเปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อยๆ ทำให้เหล่าเทวดาและอสูรจึงเห็นนางอัปสราเป็นแค่นางบำเรอกามที่มีไว้เพื่อช่วยให้เสร็จสมอารมณ์หมายเท่านั้น...กรรม

แหล่งอ้างอิง http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000131974

ตำนานนางอัปสร - เที่ยวนครวัด - ตำนานที่ 2
        
       เรื่องราวของนางอัปสราในอีกหนึ่งคติความเชื่อกันบ้าง

       
       ความเชื่อนี้เชื่อว่านางอัปสราคือนางฟ้าหรือเทพธิดาผู้รับใช้และคอยดูแลศาสนสถาน ซึ่งความเชื่อนี้คล้ายกับความเชื่อของชาวเขมรที่พวกเขาต่างยกย่องนางอัปสราเป็นเทพธิดาผู้ดูแลศาสนสถานและเป็นเทพธิดาแห่งความดีงาม ที่หากใครได้ไปเที่ยวชมนางอัปสราตามปราสาทขอมต่างๆในเขมร ไม่ว่าจะเป็นนครวัด ปราสาทบันทายสรี ปราสาทบายน ฯลฯ ก็ไม่ควรที่จะนำความเชื่อเรื่องนางอัปสราเป็นนางบำเรอกามไปพูดคุยกับคนเขมร เพราะว่าดีไม่ดีอาจมีปัญหา
       
       กลับมาที่ความเชื่อเรื่องนางอัปสราเป็นเทพธิดาผู้ดูแลศาสนสถานกันต่อ เรื่องนี้ถือว่ามีเค้าต่อการสร้างรูปสลักนางอัปสราจำนวนมากมายในนครวัด เพราะพื้นที่ของนครวัดนั้นออกจะใหญ่โต ซึ่งก็ทำให้เหล่าเทพธิดาผู้ดูแลย่อมมีจำนวนมากมายตามไปด้วย ประมาณ 1,800 องค์แล้วมีใครเป็นผู้ดูแลเหล่านางอัปสรนี้หนอ
       
       อนึ่งเหล่านางอัปสราที่มีอยู่มากมายและถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของการเดินชมนครวัดนั้น แต่ละนางถือเป็นงานระดับมาสเตอร์พีซของช่างชาวขอมโบราณที่ไม่มีการสลักหินซ้ำแบบกันแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นลักษณะท่าทางที่เป็นอากัปกริยาเฉพาะตัวที่มีการถอดแบบมาเป็น          “รำอัปสรา”หรือเรื่องของทรงผมที่มีมากมายหลายทรง ทั้งแสก แหวก เสย เกล้ามวย ผมทรงห่วง 1 ห่วง 2 ห่วง 3 ห่วง ผมชี้ ผมตั้งเด่ ผมทรงเซลล่ามูน และอีกสารพัดทรงจนหลายๆคนยกให้เหล่านางอัปสรานครวัดเป็นเจ้าแห่งแฟชั่นทรงผมนับจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งมัคคุเทกศ์ไม่แน่ใจว่าสารพัดทรงผมอันหลากหลายนี้หรือไม่ที่ทำให้ร้านเสริมสวยหลายๆร้านในเสียมเรียบนิยมประดับรูปนางอัปสราเอาไว้

bottom of page