top of page

Legend - Laos

Legend-ภาษาไทย-ตำนาน 

  พระธาตุหลวงที่นครหลวงเวียงจันทน์  

  เป็นพระธาตุที่สำคัญที่สุดของ สปป.ลาว  

 

         นครหลวงเวียงจันทน์ ได้รับสถาปนาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างในปี 2106 (ค.ศ.1563) เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงย้ายเมืองหลวงมาจากเมืองหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ มีพื้นที่ 3,960.8 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 9 เมือง ได้แก่ จันทะบุลี สีโคดตะบอง ไซเสดถา สีสัดตะนาก นาซายทอง ไซทานี หาดซายฟอง สังทอง ปากงึ่ม มีประชากรประมาณ 700,000 คน เดิมใช้ชื่อว่ากำแพงนครเวียงจันทน์ ต่อมาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2547 รัฐบาลลาวได้เปลี่ยนชื่อเป็นนครหลวงเวียงจันทน์  

งาน “บุนวัดพู”

   จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปี ในปีนี้ กำหนดจัดงาน 5 วัน 5 คืน ใช้ชื่องานว่า “เทศกาลบุนวัดพู 2013” หรือ “เดอะ เลเจนด์ ออฟ วัดพู” (The Legend of Vat Phou 2013)

        ตำนานวัดพู จำปาสัก มรดกโลกแห่งที่สองของลาว

รศ.ดร.จุมพล วิเชียรศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาเป็นคำตอบสรุปความดังนี้ พระเจ้าชัยวรมันได้สร้างปราสาทวัดพูจำปาสัก พ.ศ. 893-943 เพื่อถวายพระศิวะ โดยปราสาทวัดพูในศิลาจารึกเรียกว่า "ลึงคปรวตา" แปลว่า ภูเขาอันเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ และตามพงศาวดารของส่วยกล่าวว่า "อยู่ใกล้นครหลวง มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า ลิงกิยโปโป (ลิงกภาวตา) หรือเขาศิวบรรพต ที่ยอดภูเขามีปราสาทหลังหนึ่ง มีทหารหนึ่งพันคนรักษาประจำอยู่ ปราสาทหลังนี้สร้างให้แก่เทพเจ้าองค์หนึ่ง โดยมีการฆ่าคนเป็นเครื่องบูชายัญทุกๆ ปี พระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จไปในปราสาททำพิธีบูชายัญด้วยพระองค์เองในเวลากลางคืน"

         ตำนานรัก แบ่งออกเป็น 3 ยุค ไล่เรียงตั้งแต่ศตวรรษที่ 6-12 เริ่มตั้งแต่ยุคสมัยของท้าวบาเจียง ผิดหวังในรักกับ   นางมะโรง ธิดาเศรษฐีชาวลาวลุ่ม ซึ่งมีรักพัวพันอยู่กับ ท้าวจัมปาสัก จนกลายเป็นที่มาของชื่อภูเขาต่าง ๆ ในเขตลาวใต้ อันได้แก่ ภูบาเจียง ภูมะโรง และภูจัมปาสัก รวมถึงภูเสล่า และภูต้มไก่ สถานที่ตามตำนานซึ่งกล่าวถึงช่วงที่ท้าวบาเจียง เทเหล้าและต้มไก่ในขบวนขันหมากที่มาสู่ขอหญิงสาวทิ้งลงพื้น หลังต้องผิดหวังช้ำรัก  ถัดมาร้อยกว่าปี เรื่องรักสามเส้า เกิดขึ้น ณ เมืองเศรษฐปุระนคร เมืองเอกในแคว้นเจนละ เป็นเรื่องราวระหว่าง จิตรเสน อนุชาต่างมารดาของกษัตริย์ภววรมัน หลงรักกับ นางชยันธร บุตรสาวปุโรหิตย์ ซึ่งอยู่ในฐานะคู่รักของกษัตริย์ผู้เป็นดั่งพี่ชาย และในท้ายที่สุดเรื่องราวบาปรักครั้งนี้ จบลงในยุคสุดท้าย ฝ่ายสาวเจ้ามีนามว่า นางแพง ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง ต้องยินยอมยกเมืองจัมปาสักให้แก่เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เจ้าชายแห่งล้านช้าง ตามคำบอกเล่าของราชครูหลวงยอดแก้วโพนสะเม็ก หรือ ยาคูขี้หอม เพื่อยุติบาปเคราะห์ที่ผูกพันกันมาแต่ชาติปางก่อนให้สิ้นไป

 

แหล่งที่มา 1. http://www.dailynews.co.th/education/173462

2. http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakUwTURJMU5RPT0=

3. http://www.thairath.co.th/column/life/travelmylife/319456

 

ต้นมณีโคตร

ต้นแก้วมณีโคตร ก็กลายเป็นความพิสดารอย่างหนึ่งเพื่อดึงดูดและสร้างกระแสการท่องเที่ยวของที่นี่ ที่ใคร่อยากรู้อยากเห็นอยากสัมผัส...แต่เข้าไปไม่ถึง...และอยากกลับไปอีก...นั้นสิดูแล้วผู้เขียนยังไม่เข้าใจเลย...ฮา...ฮา...ฮา.... 

 

ต้นไม้ชนิดหนึ่งเชื่อกันว่ามีต้นเดียวในโลก เรียกว่า มะนีโคด หรือ ต้นแก้วมณีโคตร เกิดบนเกาะที่น้ำตกคอนพะเพ็ง จากตำนานของลาวที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า เป็นต้นไม้วิเศษ "กกชี้ตาย ปลายชี้เป็น" หมายความว่าหากปลายชี้ไปทางไหนก็จะมีแต่ความเจริญ โดยปัจจุบันต้นมณีโคตรมีปลายอยู่สามกิ่ง ชี้ไปทางกัมพูชา ไทยและลาว ที่หมายถึงว่าทั้งสามประเทศจะเจริญเป็นมรกตแห่งอินโดจีน การที่มีความชื้นอุณหภูมิและระบบนิเวศที่เหมาะสมเฉพาะเป็นปัจจัยทำให้เกิดมีต้นไม้ชนิดนี้เพียงต้น

 

ต้นมณีโคตร(อีกตำนานหนึ่ง) - "ต้นชี้ตาย ปลายชี้เป็น" ต้น มณีโคตร” หรือมะนีโคด ในภาษาลาวเป็นต้นไม้เก่าแก่สันนิษฐานว่ามีอายุหลายร้อยปีหรืออาจถึงพันปี ขึ้นอยู่บนแก่งหินกลางแม่น้ำโขง ชาวลาวนับถือว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์และเชื่อว่ามีต้นเดียวในโลก ตามตำนานเรียกว่าเป็น “ต้นชี้ตายปลายชี้เป็น” โดยหากเอาด้านหัวของกิ่งชี้ไป ที่ใครคนนั้นก็จะตาย แต่หากใช้ด้านปลายของกิ่งชี้คนตายก็กลับฟื้นขึ้นมาได้  แกนของกิ่งต้นมณีโคตรหากตัดดูจะเห็นเป็น 3 สี คือสีนวลเหมือนไข่ไก่ สีม่วง และสีชมพู เป็นที่มาของชื่อมณีโคตรมณีโคตรต้นนี้ มองด้านหนึ่งคล้ายเขาควาย มี 3 กิ่งหลักๆ กิ่งหนึ่งหันไปฝั่งลาว ชาวลาวเชื่อว่าใครได้กินผล (หมาก) ที่เกิดจากกิ่งนี้จะแก่ชราขึ้น กิ่งหนึ่งหันไปทางเขมร เชื่อว่าใครกินผลของกิ่งนี้จะกลายเป็นลิง และอีกกิ่งหนึ่งหันไปทางฝั่งไทย เชื่อว่าใครที่ได้กินผลจากกิ่งนี้ จะหนุ่มขึ้น เยาว์วัยขึ้น บ้างก็ว่าไม่ว่ากินจากกิ่งไหนก็จะมีกำลังวังชาเหนือมนุษย์ และบ้างก็เชื่อว่าปลายกิ่งทั้งสามที่ชี้ไปทางกัมพูชา ไทยและลาว หมายถึงว่าทั้งสามประเทศจะเจริญเป็นมรกตแห่งอินโดจีน แต่ก็ยังไม่เคยมีใครได้กินผลจากกิ่งใดเลย เพราะสายน้ำเชี่ยวกรากทำให้ไม่เคยมีใครเข้าไปถึงต้นมณีโคตรต้นนี้ ยกเว้นนกกระยางขาวและอีกาที่มักจะบินไปเกาะอยู่เต็มต้นมณีโคตรทุกๆ วันพระ.....

แหล่งที่มา  http://www.kummad-local.net/new22/lao/lao4.php

 

Published on Apr 14, 2013 - จำปาเมืองลาว

คอนเสิร์ต "มนต์เวียงจันทน์" คอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์ สานสัมพันธ์ ไทย-สปป.ลาว ณ เมืองเวียงจันทน์ โดย Thailand Phiharmonic Orchestra ได้นำเอาบทเพลงของลาวมาเรียบเรียงใหม่และน­ำมาบรรเลงในแบบ Orchestra เทปนี้นำเสนอผ่านรายการ "ดนตรีกวีศิลป์" ทางสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2556 ขอขอบคุณทุกท่านทุกฝ่าย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงคอนเสิร์ตแล­ะการนำเสนอทางโทรทัศน์ในครั้งนี้

bottom of page